- ตรวจสอบหมายเลขเข็มหมุดเขตที่ดินทั้งสี่ทิศ
- เช็คมิเตอร์ น้ำ ไฟ ก่อนโอน และบันทึกหน่วยการใช้ว่าไม่มีค้างชำระ
- จดรายละเอียดเกี่ยวกับ วิศวกรผู้ควบคุมการก่อสร้างที่ลงนามในแบบก่อสร้าง(ชื่อ,นามสกุล,ที่ติดต่อ)
- นำชอล์กทำเครื่องหมายไว้ ในจุดที่ต้องแก้ไข แล้วถ่ายรูปเก็บไว้
- ตรวจสอบที่ดินตรงที่จะสร้างบ้านเป็นอะไรก่อนสร้าง สระน้ำ บ่อน้ำ หรือที่ดินเปล่า
- สอบถามเรื่อง กำหนดการ เก็บขยะ วันเวลา โดยประมาณ รวมถึง ช่วงเวลาที่”เจ้าหน้าที่การไฟฟ้า และประปา” มาเก็บเงิน
- ขอใบรับประกันต่างๆ ของบ้าน (ใบรับประกันการมุงหลังคา ฉีดกันปลวก แอร์ ระบบตัดไฟ ปั้มน้ำ เครื่องดูดควัน)
- ขอแบบบ้านพิมพ์เขียว (บางโครงการอาจให้) ระบบประปา สุขาภิบาล ผังไฟฟ้า ผังฐานราก คานคอดิน แบบขยายฐานราก ควรขอเป็นแบบที่มีการแก้ไขในขณะก่อสร้าง (As-Build Drawing) ด้วยจะดีที่สุดเพราะจะมีประโยชน์อย่างมากในการแก้ไขซ่อมแซม หรือต่อเติมในอนาคต
- ควรขอรายละเอียดของ Spec เบอร์”สี”ที่ใช้ เผื่อไว้ในเวลาที่ต้องซ่อมแซมทาสีแต่งเล็ก ๆ น้อย ๆ จะได้ไม่เพี้ยนมาก (แต่ทั่วไป เวลานานๆ ไป สีจะจืดต่อให้ใช้เบอร์เดิม ก็เพี้ยนได้ครับ) ภายในบ้านควรมีกระเบื้องปูพื้นที่ใช้ในบ้าน สำรองเอา ไว้เผื่องานซ่อมเพราะหากไปซื้อทีหลังจะ หารุ่นเดิม สีเดิมไม่ได้แน่นอน
- ตรวจนับจำนวนกุญแจให้ครบถ้วนตามสัญญา
- ให้ความสนใจตรงรอยต่อระหว่างวัสดุกับตรงจุดที่มีการเปลี่ยนของระดับพื้นมากเป็นพิเศษอาจเป็นเพราะว่าตามจุดเหล่านั้น มีโอกาสสูงที่งานก่อสร้างมักไม่ค่อยเรียบร้อย
- ก่อนโอนรับห้อง ต้องรอให้งานเรียบร้อยก่อนโอน!
ตรวจเช็คความลาดเอียง รอยร้าวต่างๆ โดยเฉพาะในบริเวณ พื้น คาน เสาซึ่งถือว่าเป็นส่วนโครงสร้างสำคัญที่สุดของบ้าน
ตรวจดิ่ง ฉาก ของท่อระบายน้ำ ท่อประปา สภาพของทางระบายน้ำ ถังบำบัด ท่อน้ำทิ้ง และท่อน้ำดี ท่อต่างๆ เหล่านี้มีระยะความลาดเอียงเป็นอย่างไร ระบายน้ำได้ดีหรือไม่ ฝาท่อระบายน้ำเรียบร้อยสวยงามหรือไม่ ผนังบ้านด้านนอกมีจุดที่แหว่งหรือมีสีเลอะเทอะ หรืองานปูนในส่วนที่เป็นซอกมุมเรียบร้อยหรือไม่ หลังบ้านต้องไม่มีน้ำขังเป็นหลุมเป็นบ่อ โดยสามารถลองทดสอบได้โดยการเทน้ำราดทดสอบดู
อุปกรณ์ที่จะต้องใช้ มีไขควงวัดไฟ รองเท้าพื้นยาง และถุงมือหนา กันไฟดูด บันไดยาว สำหรับปีนขึ้นใต้หลังคา ไฟฉาย กล้องถ่ายรูปตรวจงาน ซึ่งถ้าเป็นหน้าฝนก็จะทำการตรวจสอบส่วนนี้ได้ง่าย ซึ่งหากไม่ใช่หน้าฝน จะตรวจเช็คได้ลำบาก เพราะต้องหาสายน้ำพร้อมกับเครื่องปั้มน้ำแรงดันสูง มาตรวจสอบโครงหลังคาว่าได้ฉากได้ระดับหรือไม่ ระยะห่างของแปเป็นอย่างไร การติดตั้ง และการยึดแผ่นกระเบื้องหลังคาถูกต้องเท่ากันหรือไม่
นอกจากนี้ ให้ดูการซ้อนทับของกระเบื้องถูกต้องตามมาตรฐานการติดตั้ง ความลาดเอียง ครอบสันเป็นอย่างไร มีแผ่นกระเบื้องบางแผ่นแตก หรือมีการรั่วซึมหรือไม่ ไม้ระแนง และไม้เชิงชาย มีการไสแต่งผิวเรียบเนียน มีขนาดสม่ำเสมอกันไหม และได้ทาน้ำยากันปลวก และรักษาเนื้อไม้หรือไม่
ระบบน้ำนั้นเป็นส่วนสำคัญ ให้เช็คระบบช่องน้ำล้น โดยขังน้ำไว้ในอ่างล้างหน้า อ่างครัว ที่ซักผ้า โดยขังน้ำให้เต็มดูว่าช่องน้ำล้นทำงานหรือไม่ แล้วปล่อยน้ำไหลออกดูว่าไหลดีหรือไม่ ถ้ามีอาการปุดๆ แสดงว่าไม่มีท่ออากาศ หรือท่ออากาศเล็กไป ให้ทดลองใช้พร้อมกัน ดูการแยกน้ำ กดสายชำระดูว่าใช้ดีหรือไม่